รายละเอียดของกิจการ
|
รายละเอียดเกี่ยวกับกิจการ
ของโรงเรียนฮิดายาตุดดีนนาวงวิทยา
ส่วนที่ ๑ โครงการและแผนการดำเนินการ
ประวัติโรงเรียนฮิดายาตุดดีนนาวงวิทยา
ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ.2506 เปิดสอนวิชาศาสนาอิสลาม โดยมีนายดนหล้า ไร่ใหญ่ (ครูดน) เป็นผู้ก่อตั้งและ เป็นครูผู้สอน โดยเปิดเป็นโรงเรียนสอนศาสนาอย่างเดียว (ปอเนาะ) ตั้งอยู่เลขที่ 43 ถนนเหนือคลอง- แหลมกรวด ตำบลคลองเขม้า อำเภอเหนือ คลองจังหวัดกระบี่ มีเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 1 ตารางวา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ประเภทโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกระบี่ เขตมัธยมศึกษาที่ 13 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่ สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2509 ได้จดทะเบียน เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามโดยมีนายดนหล้า ไร่ใหญ่ เป็นผู้รับใบอนุญาต , ผู้จัดการ , และครูใหญ่ เปิดสอนวิชาศาสนา ควบคู่กับวิชา - สามัญ วิชาสามัญสอนโดยใช้หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ( กญ.4 )
พ.ศ. 2540 ได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตร จากหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา - ตอนต้น มาเป็นหลักสูตรอิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2535 โดยเปิดสอนทั้งวิชาศาสนาและวิชาสามัญ ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3
พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของโรงเรียน จากโรงเรียนเอกชนตามมาตรา 15 ( 2 ) มาเป็น โรงเรียน โรงเรียนเอกชนตามมาตรา 15 ( 1 ) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2545 ได้ทำการขยายพื้นที่โรงเรียน และสร้างอาคารเรียนชั้นเดียวขนาด 4 ห้องเรียนจำนวน 1 หลัง เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนซึ่งอาคารที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอประกอบกับทางโรงเรียนได้ขออนุญาขยายหลักสูตร โดยเปิดสอนตั้งแต่ ชั้น ม.1 – 6 โดยใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51 และหลักสูตรอิสลามศึกษา
พ.ศ. 2561 ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51 และหลักสูตรอิสลามศึกษา
ปัจจุบันมีอาคารเรียน 5 หลัง จำนวน 19 ห้องเรียน มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ 1 ห้อง ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง ห้องโสตทัศนูปกรณ์ 1 ห้อง ห้องสมุด 1 ห้อง ห้อง พยาบาล 1 ห้อง หอพักนักเรียนชายนอนรวม 2 หลัง หอพักนักเรียนหญิงนอนรวม 2 หลัง มีสหกรณ์โรงเรียน มีนักเรียน 500 คน ครูจำนวน 39 คน มีนายอิสม่าแอล ไร่ใหญ่เป็นผู้รับใบอนุญาต เป็นผู้จัดการและผู้อำนวยการโรงเรียน
๑.๑ วิสัยทัศน์
..................................................................................................................................................................
๑.๒ การจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนการสอน วัสดุ และครุภัณฑ์ที่ต้องใช้ในกิจการโรงเรียนพร้อมด้วยขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการ
๑) ขั้นเตรียมการ
๑.๑) ฝ่ายบริหารจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา โดยระบุความต้องการเครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนการสอน วัสดุ ครุภัณฑ์ ประกอบ
๑.๒) งานพัสดุสำรวจเครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนการสอน วัสดุ ครุภัณฑ์ ประจำปีเพื่อจัดทำรายการบัญชีของที่มีอยู่แล้วแจ้งให้ฝ่ายวิชาการทราบ
๑.๓) ฝ่ายวิชาการตรวจสอบรายวิชาและกิจกรรมที่ต้องใช้เครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนการสอน วัสดุ ครุภัณฑ์ จากนั้นเทียบกับรายการบัญชีของที่มีอยู่เพื่อจัดทำรายการที่ต้องจัดหาเพิ่มเติม
๑.๔) ฝ่ายวิชาการจัดทำข้อเสนอความต้องการเพื่อจัดหารายการเครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนการสอน วัสดุครุภัณฑ์ ประจำปี โดยยึดถือความต้องการตามแผนพัฒนาโรงเรียนข้อ ๑.๑) และรายการที่ต้องจัดหาเพิ่มเติม เพื่อเสนอฝ่ายบริหารพิจารณา
๒) ขั้นดำเนินการ
๒.๑) ฝ่ายบริหารตรวจสอบราคาเครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนการสอน วัสดุ ครุภัณฑ์ พร้อมกับคุณลักษณะ จากนั้นให้ทำบัญชีราคาเสนอผู้อำนวยการ
๒.๒) ผู้อำนวยการโรงเรียนนำข้อมูลตาม ๒.๑) เพื่อให้คณะกรรมการบริหารโรงเรียนเห็นชอบเนื่องจากเกี่ยวข้องกับการลงทุนและการดำเนินการซึ่งเป็นเรื่องทางการเงิน
๒.๓) ผู้อำนวยการโรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับ
๒.๔)ให้คณะกรรมการทั้งสองชุดวางแผนดำเนินการประจำปีโดยยึดถือประโยชน์การศึกษาเป็นหลัก จากนั้นให้แผนดำเนินการประจำปีแก่ผู้อำนวยการโรงเรียนลงนามสั่งการให้เป็นแผนปฏิบัติงานประจำปี
๒.๕) ให้คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างดำเนินการจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนการสอน วัสดุ ครุภัณฑ์ตามแผนในปฏิทิน จากนั้นคณะกรรมการตรวจรับดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของสิ่งที่จัดหาตามข้อกำหนดคุณลักษณะของเครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนการสอน วัสดุ ครุภัณฑ์ที่จัดซื้อจัดจ้าง
๒.๖) ให้จัดทำทะเบียนเครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนการสอน และครุภัณฑ์
๓) ขั้นสรุปและประเมินผล
๓.๑) ให้งานพัสดุดำเนินการตรวจสอบผลการใช้งานตลอดระยะการใช้งานในปีการศึกษา
๓.๒) ให้งานประกันคุณภาพดำเนินการประเมินสอบถามความพึงพอใจของผู้ที่ใช้งาน
๓.๓) สรุปข้อมูลจากข้อ ๓.๒) เสนอต่อคณะกรรมการบริหารโรงเรียนทราบ
๑.๓ แผนและขั้นตอนการดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ครอบครองในที่ดิน สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือสิทธิการเช่าให้แก่โรงเรียน
โรงเรียนจะดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียน จำนวน..............ไร่ ..................งาน ..................ตารางวา ให้เป็นของโรงเรียนตามที่พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน |