การขับเคลื่อนโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์
|
โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ความเป็นมา
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกระบี่ ขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ภายใต้โครงการ “การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (O-NET) ในโรงเรียนเอกชนจังหวัดกระบี่” เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนให้สามารถนำกระบวนการ ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไปจัดทำแผนและแนวทาง การขับเคลื่อน ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษาได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีการนิเทศ ติดตาม ให้ความช่วยเหลือการดำเนินงานของเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการสะท้อนผลการดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์สร้างวัฒนธรรมสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จากการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2559- ๒๕๖๑ (O-NET) ชั้น ม.3 พบว่านักเรียน ชั้น ม.3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับสังกัด ๔ วิชา คือ วิชาภาษาไทย ได้คะแนนเฉลี่ย ................. วิชาภาษาอังกฤษ ได้คะแนนเฉลี่ย ..................วิชาคณิตศาสตร์ ได้คะแนนเฉลี่ย ................ วิทยาศาสตร์ ได้คะแนนเฉลี่ย ............. ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าระดับ...............แต่คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกีนับตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ตามลำดับ จากสภาพดังกล่าวทางโรงเรียนจึงต้องดำเนินการแก้ปัญหาโดยจัดทำโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีระบบต่อเนื่องสัมพันธ์กันจึงจัดให้มีการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ โดยให้ความสำคัญกับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นพิเศษโดยเฉพาะให้สูงขึ้นในปีการศึกษา ๒๕๖๒ ตามเป้าหมายที่กำหนด ร้อยละ ๓
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดทำโครงการ แผนการจัดการเรียนรู้และแนวทางการขับเคลื่อนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษา
2. เพื่อนิเทศ ติดตาม การดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนฮิดายาตุดดีนนาวงวิทยา
เป้าหมาย
1. ครูในโรงเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ที่เข้ารับการพัฒนาสามารถนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปขับเคลื่อนและจัดกิจกรรม ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสถานศึกษาได้
2. โรงเรียนมีแผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือและแนวทาง การขับเคลื่อนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
3. มี Team ขับเคลื่อนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สามารถนิเทศ ติดตาม การขับเคลื่อนของสถานศึกษาได้ตามแผนที่กำหนด
4. ครูมีการพัฒนาตามแผน และกรอบการยกระดับผลการเรียน ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
5. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ และทักษะตามมาตรฐานการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระ
6. เพื่อให้นักเรียนมีผลการประเมินระดับชาติ (O-NET) ทุกกลุ่มสาระเพิ่มขึ้น
ภาพความสำเร็จ
1. ครูในโรงเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ที่เข้ารับการพัฒนาสามารถนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปขับเคลื่อนและจัดกิจกรรม ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสถานศึกษาได้
2. โรงเรียน มีแผนและแนวทางการขับเคลื่อนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
3. มี Team ขับเคลื่อนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สามารถนิเทศ ติดตาม การขับเคลื่อนของสถานศึกษาได้ตามแผนที่กำหนด
4. ครูมีการพัฒนาตามแผน และกรอบการยกระดับผลการเรียน ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
5. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ และทักษะตามมาตรฐานการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระ
6. เพื่อให้นักเรียนมีผลการประเมินระดับชาติ (O-NET) ทุกกลุ่มสาระเพิ่มขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นผู้มีศักยภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
2. นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพ เป็นผู้มีทักษะการเรียนรู้ และมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น
กรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้อง
1. ศาสตร์แห่งพระราชา
เข้าใจ |
การใช้ข้อมูลที่มีอยู่จริง |
การประยุกต์ใช้ |
ผลสัมฤทธิ์ในโรงเรียน
ผลโอเน็ต3ปี ย้อนหลัง
หลักสูตร
แผนการสอน
การวัดประเมินผล
บันทึกหลังสอน |
ศึกษาวิจัยข้อมูลของโรงเรียนก่อนทำการยกระดับผลสัมฤทธิ์ |
การใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์
-การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
-ศึกษามาตรฐานตัวชี้วัดรายปี |
แสวงหาข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหา
จากสารสนเทศและผลการวิเคราะห์ข้อมูล |
การวิเคราะห์และวิจัย
หลักสูตร มาตรฐานตัวชี้วัด/ การจัดการเรียนการสอน /ผลสอบ |
ค้นหาปัญหา ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
วิเคราะห์และวิจัย |
ทดลองจนได้ผลจริง |
ติวเตอร์ จัดทำข้อสอบ การยกระดับ แผนการจัดการเรียนรู้ (หลาย ๆวิธี) |
เข้าถึง |
ระเบิดจากข้างใน |
สร้างความมุ่งมั่น ปรับเปลี่ยนการสอน มีการออกแบบการเรียนรู้ |
เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย |
รับฟังปัญหาอย่างเข้าใจ(สะท้อนความเห็น,ระดมความคิด) |
สร้างปัญญา |
ให้ความรู้ความเข้าใจ ความจำเป็นวิธีการเพื่อยกระดับ (อบรม,ประชุม) |
พัฒนา |
เริ่มต้นด้วยตนเอง |
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครู |
พึ่งพาตนเองได้ |
ร่วมมือกับศธจ ศึกษานิเทศก์ในระยะแรก |
ต้นแบบเผยแพร่ความรู้ |
ส่งเสริมครูที่ประสบความสำเร็จขยายผลต่อไป |
กรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้อง 2
2. Professional Learning Community (PLC) สู่คุณภาพซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ที่เกิดจากการรวมตัว รวมใจ รวมพลัง ร่วมมือกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษาในโรงเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
|
ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์ 247.54 KB
|